RESULTS | ด้านข้อมูลรับเข้า


RESULTS | ด้านผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น


RESULTS | ด้านการให้บริการ


RESULTS | ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ


RESULTS | ด้านงานวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ และผลงานทรัพย์สินทางปัญญา


RESULTS | ด้านการกำกับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา


RESULTS | ด้านการบริหารงานบุคลากร


RESULTS | ด้านตัวชี้วัดตามแผนการปฎิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ


* ผู้เรียนในระบบ หมายถึง น.ศ.มหาวิทยาลัยฯ ระดับ ปวส. ป.ตรี ป.โท ในภาคปกติหรือภาคสมทบ (Degree) ในปัจจุบัน
* ผู้เรียนนอกระบบ หมายถึง ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะสั้นของมหาวิทยาลัย (Non-degree)
* หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อปริญญา (Degree) หรือหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree) ที่ผ่านการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยฯ ตามรอบที่รายงานผล
* แผนรับผู้เรียนในระบบ หมายถึง แผนรับ น.ศ. จาก มคอ.2 ตามรอบที่รายงานผล
* แผนรับผู้เรียนนอกระบบ หมายถึง แผนรับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ตามรอบที่รายงานผล
* ผู้เรียน หมายถึง น.ศ. ของมหาวิทยาลัยฯ ระดับ ปวส. ป.ตรี ป.โท ในภาคปกติหรือภาคสมทบ (Degree) ในปัจจุบัน
* บัณฑิต หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษา (ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา)
* ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการหรือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดาเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง อาจจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้ และดำเนินกิจการมาแล้วระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
* หลักสูตรเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ หมายถึง หลักสูตรที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม มาจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร Degree หรือ Non-degree เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
* ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการหรือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง อาจจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้
* บุคลากรแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม หมายถึง บุคลากรสายวิชาการที่ไปถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความรู้ หรือไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการแก่สถานประกอบการในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
* ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม หมายถึง กิจการที่มีลักษณะเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 กรณีลักษณะกิจการมีเกณฑ์รายได้ สูงกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ ให้ถือเป็นกิจการขนาดใหญ่
* ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ หมายถึง สิ่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน ได้แก่ นโยบาย เครือข่าย โครงการ/กิจกรรม รายวิชาเฉพาะ และ Platform กลาง โดยมีระดับการดำเนินงาน ดังนี้
1.มีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
2.มีเครือข่ายผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
3.มีโครงการ/กิจกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
4.มีรายวิชาเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
5.มี Platform ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียน
* นักศึกษาที่ตกออก หมายถึง นักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 หมวด 8 ข้อ 28.8 (การพ้นสภาพเนื่องจากผลการศึกษา) เท่านั้น
* หมายถึง หลักสูตรเพื่อปริญญา (Degree) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศในอนาคต เพื่อรองรับงานใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามเทคโนโลยีหรือความต้องการที่หลากหลาย โดยมีการบูรณาการการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในสภาพจริง (Experience Intergrated Learning) ที่มีระบบภาคีความร่วมมือเป็นเครือข่ายภาคการศึกษาและสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม สำหรับต่อยอดการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิตกาลังคนร่วมกับสถานประกอบการตามเกณฑ์ของกฎกระทรวงฉบับใหม่ (พ.ศ. 2565)
* หมายถึง หลักสูตรประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตร (Non-Degree) เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตกาลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศในอนาคต เพื่อรองรับงานใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามเทคโนโลยีหรือความต้องการที่หลากหลาย มีการบูรณาการศาสตร์หลากหลายศาสตร์ (Multidisciplinary) เพื่อสามารถสร้างสมรรถนะเร่งด่วน แก่กำลังภาคการผลิต ให้มีความสามารถและศักยภาพตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่ New S-Curve ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Learning) ของประเทศ
* จำนวนหลักสูตร Non-degree ที่สร้างกำลังคนสมรรถนะสูง มีผู้เรียนเป็นไปตามแผน อย่างน้อยร้อยละ 80 (หลักสูตรสะสม)
* คุณสมบัติผู้สอนมืออาชีพ (Professional Academic Staff) ประกอบด้วย
1.Smart Coach โดยผ่านหลักสูตรฝึกอบรม UKPSF (The United Kingdom Professional Standards Framework) จากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
2.ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ (Academic Expertise) จากกองบริหารงานบุคคล (กรณีได้รับทุนฯจาก ม.) และจาก คณะ/วิทยาลัย)
3.ตำแหน่งทางวิชาการ (Academic Ranking) จากกองบริหารงานบุคคล
4.ประสบการณ์การทำงาน (Working Experience) ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จากกองบริหารงานบุคคล (กรณีได้รับทุนฯจาก ม.) และจาก คณะ/วิทยาลัย)
5.การแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility)
ทั้งนี้ ผู้สอนที่เป็นมืออาชีพต้องมีคุณสมบัติ อย่างน้อย 3 ใน 5 ด้าน
* ทักษะแห่งอนาคตของผู้เรียน ประกอบด้วย
1.ทักษะการใช้ชีวิตแห่งโลกสมัยใหม่
2.ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
3.ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
4.ทักษะภาษาต่างประเทศ (Language Literacy)
5.ทักษะด้านการวางแผนทางการเงิน (Finacial Literacy)
* สมรรถนะวิชาชีพ หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ โดยใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่บูรณาการกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
* องค์กรภายนอก หมายถึง หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ให้การรับรองสมรรถนะของบุคคลหรือการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน เช่น สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยสภาสถาปนิกไทย แพทยสภา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นต้น
* รางวัลด้านผู้ประกอบการของผู้เรียน หมายถึง รางวัลที่ผู้เรียนในระบบ (Degree) ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยและบัณฑิต (ผู้ที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา) ได้รับรางวัลด้านผู้ประกอบการในประเภทต่อไปนี้
1.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรภายนอก
2.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากเครือข่ายองค์กรภายในประเทศ
3.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรระดับชาติ
4.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรระดับนานาชาติ
* นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งนี้ นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์จะต้องเป็นผลงานตามเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
* การนำไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ หมายถึง 1. ผลงานนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ของผู้เรียนมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการแบบให้เปล่า หรือ 2. ผลงานนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ของผู้เรียนมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์
* หมายถึง การจัดกิจกรรมให้ศิษย์เก่ามีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ ทั้งกิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมด้านความบันเทิง กีฬา ดนตรี และการเปิดเวทีสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการมีแนวทางในการรักษาความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าที่ดีและยั่งยืน เช่น การสร้างความภาคภูมิใจให้กับศิษย์เก่า การให้เกียรติ ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ กับศิษย์เก่า
* แพลตฟอร์มดิจิทัลเต็มรูปแบบ หมายถึง ระบบจัดการเรียนการสอนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนให้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ สามารถเข้าถึงเนื้อหากิจกรรมต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยองค์ประกอบของแพลตฟอร์มดิจิทัลเต็มรูปแบบ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1.ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2.ระบบสามารถรองรับจำนวน user และจำนวนบทเรียนได้ไม่จำกัดโดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ
3.ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text – based และบทเรียนในรูปแบบ Streaming Media
4.ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติพร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
5.ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน-ผู้สอน และ ผู้เรียน-ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วย ระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง
* งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการวิจัย หมายถึง ทุนวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยทุกแหล่งทุน (ยกเว้นงบประมาณเงินรายได้) ได้แก่ ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณของรัฐผ่านหน่วยงานผู้ให้ทุน เช่น สวทช. , วช. , สวก. , พพ. และ สนพ. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากภาคเอกชน รวมถึงทุนสนับสนุนการวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เงินทุนวิจัยภายนอกของปีที่รายงานผลให้ยึดจากวันที่ลงนามในสัญญา (1 ต.ค. 67 – 30 ก.ย. 68)
* การบริการวิชาการ หมายถึง โครงการบริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยฯ ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ในสาขาที่มุ่งเน้น เช่น ธุรกิจบริการ (การโรงแรม การท่องเที่ยว ฯลฯ) ศิลปะการออกแบบ สร้างสรรค์ ด้านผลิตภัณฑ์และแฟชั่น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สร้างสรรค์มรดก ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งอาจจัดโดยให้เปล่า หรือคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม
* วัฒนธรรมสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มให้กับวัฒนธรรมทั้งเป็นรูปธรรม เช่น การแต่งกาย อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น และนามธรรม เช่น ประเพณี จารีต ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์หรือด้วยนวัตกรรม
งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการบริการวิชาการและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ หมายถึงงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนเพื่อดาเนินการบริการวิชาการและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยทุกแหล่งทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
* หมายถึง ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ ตามประกาศ กพอ. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการ พ.ศ. 2562 เช่น Scopus, ISI, WOS เป็นต้น
* ผลงานวิจัย หมายถึง ผลงานวิชาการที่เป็นงานศึกษา หรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือในรูปสรุป และหมายรวมถึงงานวิจัยที่ใช้งบประมาณส่วนตัว
* นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งนี้ นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์จะต้องเป็นผลงานตามเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
* วัฒนธรรมสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มให้กับวัฒนธรรมทั้งเป็นรูปธรรม เช่น การแต่งกาย อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น และนามธรรม เช่น ประเพณี จารีต ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์หรือด้วยนวัตกรรม
การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือสังคม หมายถึง การนำข้อมูลวิจัยไปพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ และการยื่นหรือจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือการนาข้อมูลการวิจัยไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชน/สังคม/ท้องถิ่นที่แสดงความประสงค์มายังหน่วยงานหรือผู้วิจัย
* จำนวนงบประมาณที่ได้รับจากการที่เจ้าของผลงานวิจัย/เทคโนโลยี/ทรัพย์สินทางปัญญา (Licensor) อนุญาตให้หน่วยงานผู้ขอรับอนุญาตใช้สิทธิ (Licensee) สามารถใช้ผลงานวิจัย/เทคโนโลยี/ทรัพย์สินทางปัญญา ตามขอบเขตและเงื่อนไขที่ตกลงกัน เช่น เพื่อการผลิตและขาย เพื่อใช้งานเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ เป็นต้น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของ
* บุคคลทั่วไป หมายถึง บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยที่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อเป็นผู้ประกอบการ (ไม่รวมผู้เรียนและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา)
รางวัลด้านผู้ประกอบการของบุคคลทั่วไป หมายถึง รางวัลของบุคคลทั่วไป ที่ได้รับในประเภทต่อไปนี้
1.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรภายนอก
2.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากเครือข่ายองค์กรภายในประเทศ
3.ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรระดับชาติ 4) ผลงานที่ได้รับรางวัลจากองค์กรระดับนานาชาติ
* ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับด้วยกระบวนการวิจัยหรือบริการวิชาการตามอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องเป็นผลงานที่เป็นไปตามเกณฑ์นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยฯ หรือมีมาตรฐานที่ออกโดยหน่วยรับรองมาตรฐาน
* ผลงานจากโครงการวิจัยหรือโครงการบริการวิชาการที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม
* ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการหรือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดาเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงาน
* ราย หมายถึง จำนวนธุรกิจ/อุตสาหกรรม
* การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Technopreneurship หมายถึง การพัฒนาผู้ประกอบการด้านธุรกิจเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้าสมัยเข้ากับทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการวิจัยหรือโครงการบริการวิชาการ
* หมายถึง งบประมาณที่เกิดจากการให้บริการวิชาการ ได้แก่ การให้แนวความคิด การออกแบบการผลิต การสร้าง การควบคุม การติดตั้งการซ่อมแซม การปรับปรุง การประกอบ การส่งเสริม การพัฒนา รวมถึงการจัดให้มีการศึกษา การฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การตรวจวิเคราะห์ การสำรวจ การทดสอบ การประมวลผล การวางระบบ การให้คำปรึกษา แนะนำ การให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม งานบริการในการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ หรือการให้บริการทางวิชาการอื่นๆ และการรับจ้างวิจัยที่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ หรืออาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือนักศึกษาร่วมกัน หรือร่วมกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกให้บริการแก่ส่วนราชการ องค์กร รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ไม่รวมงบประมาณที่มหาวิทยาลัยฯ ขอความช่วยเหลือเงินอุดหนุนจากส่วนราชการ องค์กร รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการบริการทางวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ พ.ศ. 2563
* งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ งบประมาณจากภายนอกมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ในลักษณะกิจกรรม/โครงการ/งบลงทุน
* นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งนี้ นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์จะต้องเป็นผลงานตามเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
* วัฒนธรรมสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มให้กับวัฒนธรรมทั้งเป็นรูปธรรม เช่น การแต่งกาย อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น และนามธรรม เช่น ประเพณี จารีต ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์หรือด้วยนวัตกรรม
* การนำไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ หมายถึง

1.ผลงานนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์มีการนาไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ/ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม แบบให้เปล่า หรือ
2. ผลงานนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ/ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์
* มหาวิทยาลัยนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการองค์กร หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในระบบบริหารจัดการหลักขององค์กร ได้แก่ ระบบการให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก เป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ระบบการให้บริการแบบดิจิทัลทุกระบบและลดการใช้กระดาษให้เป็นศูนย์ ภายใต้แผนพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล : Digital Transformation
* หมายถึง การให้บริการที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดการศึกษาแก่นักศึกษา บุคลากร หรือบุคคลภายนอก โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มหาวิทยาลัยฯ กำหนด 2 ระบบ ได้แก่
1.ระบบการผ่อนผันทหาร
2.ระบบผ่อนผันค่าธรรมเนียมการศึกษา
* นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งนี้ นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์จะต้องเป็นผลงานตามเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
* องค์ประกอบของ Green Campus ประกอบด้วย

1.กำหนดพื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อปกปักรักษาให้มีลักษณะเป็นป่า (หมวดสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน: UI Green matrix 2017)
2.การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (หมวดพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : UI Green matrix 2017)
3.กำหนดนโยบายด้านการใช้กระดาษและพลาสติก (หมวดของเสีย : UI Green matrix 2017)
4.ด้านการบริหารจัดการน้ำ (หมวดน้ำ : UI Green matrix 2017)
5.ด้านการจัดการขนส่ง (หมวดการขนส่ง : UI Green matrix 2017)
6.ด้านการศึกษา (หมวดการศึกษา : UI Green matrix 2017)
* หมายถึง กลุ่มบุคลากรที่มหาวิทยาลัยฯ พัฒนาเพื่อเป็นผู้นาเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Digital Transformation Leadership)
* บุคลากรสายวิชาการที่เลือกภารกิจหลักตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ได้แก่
1. การสอน
2. การวิจัย
3. การบริการวิชาการ
4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
* รายได้จากการบริหารทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ งานฟาร์ม การให้เช่า/ขอใช้ พื้นที่
หุ้น กองทุน สลากออมทรัพย์ พันธบัตร การลงทุนทางธุรกิจ (Endowment Fund/Holding Company/Digital Business) สินทรัพย์ดิจิทัล “NFT” การใช้ประโยชน์จากแฟลตฟอร์มดิจิทัล (Marketplace) การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management)
* รายจ่ายดำเนินงาน หมายถึง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานหมวดเงินอุดหนุน (เฉพาะค่าสาธารณูปโภค)
งบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้
* งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ หมายถึงจำนวนงบประมาณที่ได้รับจากการร่วมทุนของหน่วยงานภายนอก (ภาครัฐ/ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม) เพื่อสร้างผู้ประกอบการ ภายใต้องค์ประกอบของแพลตฟอร์มด้านการสร้างความโดดเด่นเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การเปลี่ยนแปลง
* ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ หรือส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม University – Industry Linkage หมายถึง ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
กับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการหรือสร้างนวัตกรรมในลักษณะ MOU/MOA ภายใต้องค์ประกอบของแพลตฟอร์มด้านการสร้างความโดดเด่นเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การเปลี่ยนแปลง
* หมายถึง รายได้จากการให้บริการทางธุรกิจระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ร่วมทุน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด
* หมายถึง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ระดับปวส. ป.ตรี ป.โท ในภาคปกติหรือภาคสมทบ (Degree) ในปัจจุบัน ที่เข้าร่วมโครงการในการให้บริการทางธุรกิจ (Team Projects) โดยอาจใช้การเทียบโอนชั่วโมงการทำงานเป็นหน่วยกิตการเรียนได้