วันนี้ 29 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบาโรย ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธนัสถ์ นนทพุทธ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการการพัฒนาทักษะชีวิตและคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของผู้สอนและผู้เรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (IED.Volunteer Spirit) ซึ่งจัดขึ้นระว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2567
.
ในโครงการนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาให้แก่ผู้สอนและผู้เรียน เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่สำคัญ โดยการจัดกิจกรรมให้กับผู้สอนและนักเรียน ในห้วข้อการพัฒนาศักยภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้แบบบรูณาการ จึงจัดอบรมหัวข้อเรื่อง ความเป็นครูกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉารีฝ๊ะ หัดยี ผู้ช่วยคณบดี เป็นวิทยากรหลัก และ อาจารย์พิริยา สร้อยแก้ว มีผู้เข้าร่วม 40 คน การอบรมครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการวิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อ และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
.
โดยแบ่งกลุ่มปฏิบัติการออกเป็น 2 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มปฏิบัติการได้ครอบคลุมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวางแผนดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และการออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรม รวมถึงการเตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ การจัดการเรียนรู้ และการบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และอบรมหัวข้อ การผลิตสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมแต่งแต้มเติมฝัน สร้างสรรค์เพื่อน้อง ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้และกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีสีสันสำหรับเด็ก ซึ่งเน้นถึงเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมแต่งแต้มเติมฝัน การอบรมนี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ โดยใช้การวาดภาพเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติและสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน
.
ทั้งนี้การอบรมมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถานศึกษาของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ